ไม้กั้นรถ เครื่องทาบบัตร เครื่องสแกนลายนิ้วมือ ถูกมาก


เทคโนโลยี่กล้องวงจรปิด CCTV


 

เทคโนโลยี H.264

ที่ไปที่มาก่อนที่จะกล่าวถึง H.264 ( อ้างอิง :: http://th.wikipedia.org/ )

มาตรฐานในแวดวงมัลติมีเดียปัจจุบันถูกกำหนดโดยสององค์กรหลักๆ คือ

- MPEG (Moving Picture Expert Group)
- ITU-T (The ITU Telecommunication Standardization Sector) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ออกมาตรฐานทางโทรคมนาคม ของ ITU (International Telecom Union)

 

            MPEG (นิยมอ่าน เอ็มเพก) หรือ Moving Picture Experts Group เป็นชื่อกลุ่มนักพัฒนา ระบบมาตรฐานการเข้ารหัสวิดีโอและ
ออดิโอ ของ ISO/IEC โดยมีการเริ่มพัฒนาร่วมกันครั้งแรกเมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ที่ประเทศแคนาดา โดยสมาชิกของเอ็มเพก ประกอบด้วยบุคคลจากบริษัทพัฒนา นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและมหาวิทยาลัย โดยปัจจุบันมีมาตรฐานหลักที่พัฒนาออกมา ได้แก่ 
MPEG-1, MPEG-2, MPEG-3 และ MPEG-4 ซึ่งยังมีมาตรฐานเสริม คือ MPEG-7 และ MPEG-21

เอ็มเพก

MPEG-1 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับวิดีโอ กำเนิดอย่างเป็นทางการในช่วงปี 93 นำไปใช้ในวีซีดี มีเทคโนโลยีที่พัฒนาตาม MPEG-1 
ดังนี้


 MPEG-2 ปีค.ศ. 1994 มาตรฐาน MPEG-2 ถูกใช้กับดีวีดี ความแตกต่างกับ MPEG-1 ก็มีไม่มากนัก ยกเว้นเรื่องการเข้ารหัส/
ถอดรหัสที่ใช้วิธีทันสมัยมากขึ้น
MPEG-3 เป็นมาตรฐานที่เตรียมใช้กับ HDTV (High Definition Television หรือโทรทัศน์ความละเอียดสูง) แต่สุดท้ายไม่ได้ใช้ เพราะพบว่าแค่เทคโนโลยี MPEG-2 ที่มีอยู่เดิมเพียงพอสำหรับ HDTV แล้ว
MPEG-4 เป็นส่วนขยายของ MPEG-1 เพื่อรับรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ เช่น 3D หรือการเข้ารหัสที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น MPEG-4 แบ่งออกเป็นหลายส่วนตามหน้าที่แต่ละส่วน และทาง MPEG จะปล่อยให้ผู้ผลิตซอพท์แวร์เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมที่ใช้จริงๆ เอง 
ไม่จำเป็นต้องตาม MPEG-4 เต็มชุดก็ได้ พัฒนาได้เป็นบางส่วนก็พอ (แบบเดียวกับ MP3 ที่หยิบแต่ส่วนออดิโอไปทำ)

เทคโนโลยีสำคัญใน MPEG-4
MPEG-4 part 2 รับผิดชอบกับการจัดการด้านภาพ ฟอร์แมตวิดีโอสำคัญๆ หลายตัวอิมพลีเมนต์ตาม part 2 นี้
DivX
XviD
MPEG-4 part 3 รับผิดชอบการจัดการกับเสียง

AAC (Advance Audio Coding) เป็นการอิมพลีเมนต์ตาม MPEG-4 part 3 โดยแอปเปิล ซึ่งอ้างว่า AAC ที่บิทเรต 
96 kbps มีคุณภาพเทียบเท่ากับ MP3 ที่ 128 kbps เทคโนโลยีนี้นำไปใช้กับเพลงที่ขายในร้านจำหน่ายเพลงออนไลน์ iTunes Music Store นามสกุลไฟล์ในฟอร์ตแมตนี้จะเป็น .aac, .mp4 และ .m4a

 

MPEG-4 part 10 จัดการกับการเข้ารหัสวิดีโอระดับสูง (Advance Video Coding)
H.264 เป็นมาตรฐานที่ซ้อนกับ ITU-T โดย H.264 เป็นชื่อของ ITU-T และ AVC เป็นชื่อของทาง MPEG เท่านั้นเอง มี
ความสามารถในการเข้ารหัสวิดีโอที่สูงกว่า MPEG-4 part 2 มาก ปัจจุบันเพิ่งเริ่มนำมาใช้งาน โดยแอปเปิลจะนำไปใช้ใน QuickTime 7 และ MacOSX 10.4 Tiger นอกจากแอปเปิลแล้ว H.264 เริ่มถูกนำไปใช้ในระบบทีวีแบบใหม่ของญี่ปุ่นและยุโรป และฟอร์แมตแผ่นดิสก์ในยุคหน้าทั้ง Bluray กับ HD-DVD
MPEG-7 ไม่ใช่มาตรฐานเกี่ยวกับภาพและเสียงเหมือนอันอื่นๆ แต่เป็นมาตรฐานที่ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวมีเดีย (metadata) เช่น หนังแผ่นนี้ชื่ออะไร หรือถ้าหนังเล่นมาถึงตอนนี้ ให้เล่นเพลงนี้ พร้อมขึ้นซับไทเทิลไฟล์นี้ เป็นต้น เก็บข้อมูลเป็น XML
MPEG-21 เป็นมาตรฐานมัลติมีเดียในอนาคต มุ่งเน้นการใช้งานมัลติมีเดียผ่านเครือข่าย ปัจจุบันอยู่ในสถานะร่าง

H.264 ในด้านของ CCTV
 H.264 คือมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลของสัญญาณภาพและเสียง ที่ความคมชัดเท่ากัน แต่ขนาดไฟล์จะเล็กกว่า เมื่อเทียบกับ Mpeg4 และ Mpeg2 ตามลำดับ


 

 

  • MP3 ไม่ได้เป็น MPEG-3 อย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ ใน MPEG-1 จะแบ่งเป็นหลายส่วน เช่น ส่วนของภาพ ส่วนของเสียง 
    ส่วนของมีเดีย สามารถหยิบเฉพาะบางส่วนไปใช้งานจริงได้ และส่วนของเสียงใน MPEG-1 คือส่วนที่เรียกว่า Layer 2 และ Layer 3 ซึ่ง Layer 2 นั้นตกสมัยไปแล้ว ส่วน MPEG-1 Layer 3 ก็คือ MP3 นั่นเอง
  • Ogg Vorbis เป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนที่ MP3 เนื่องจากใน ค.ศ. 1998 สถาบัน Fraunhofer ในเยอรมนี ซึ่งเป็น
    เจ้าของสิทธิบัตรวิธีการบีบอัดข้อมูลใน MP3 ประกาศเตรียมคิดค่าใช้งาน จึงมีกลุ่มพัฒนามาตรฐานใหม่เพื่อมาแทน MP3 และให้มาตรฐานใหม่นี้เป็นสาธารณสมบัติ (Public Domain). ในปี ค.ศ. 2002 Ogg Vorbis 1.0 ก็เสร็จสมบูรณ์ และกลายเป็นหนึ่งในฟอร์แมตเสียงหลักที่ทุกโปรแกรมต้องมี. ไฟล์นามสกุล .ogg
  • มาตรฐานอื่นๆ ที่เทียบเคียง MP3 ได้ก็มี ATRAC ของโซนี่, AC-3 ของ Dolby Digital, mp3PRO และ Windows Media Audio (.wma) ของไมโครซอฟท์

 

 
ความรู้กล้องวงจรปิด CCTV

กล้องวงจรปิด CCTV (Closed Circuit Television System)

กล้องวงจรปิด CCTV (Closed Circuit Television System) คือ ระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวที่ถูกจับภาพโดยกล้องวงจรปิด ที่ได้ติดตั้งตามบริเวณต่างๆ มายังเครื่องบันทึก (DVR) และ ส่วนรับภาพดูภาพซึ่งเรียกว่า จอภาพ (Monitor) และบันทึกลงไปยังเครื่องบันทึก เป็นระบบสำหรับใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัย หรือ ใช้เพื่อการสอดส่องดูแลเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ

ส่วนประกอบของระบบกล้องวงจรปิด
ชนิดของเครื่องบันทึกภาพ

  1. เครื่องบันทึกภาพ
  2. กล้องวงจรปิด
  3. ระบบควบคุม หรือโปรแกรมจัดการ
  4. สายสัญญาณ
  5. ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น Housing, Adaptor, Controller
  1. DVR (Digital Video Recorder) เป็นเครื่องบันทึกภาพเป็น Stand Alone ข้อดี ไม่มีปัญหาเรื่องไวรัส ลิขสิทธิ์ Software ราคาไม่สูงมาก ใช้งานง่าย เสถียรภาพสูง
  2. NVR (Network Video Recorder) เป็นเครื่องบันทึกภาพจากกล้อง 
    IP Camera
  3. คอมพิวเตอร์ จะใช้การ์ด DVR และลง Software ที่คอมพิวเตอร์ ข้อดี สามารถ
    ใช้งาน Software คอมพิวเตอร์อื่นได้
  4. Embedded เป็นคอมพิวเตอร์แต่จะฝัง Software ลงไปในเครื่อง ข้อดี 
    มีความสามารถ Feature หลากหลาย ใช้ในระบบขนาดใหญ

ชนิดของกล้องวงจรปิด

  1. กล้อง Box หรือกล้องกระบอก
  2. กล้อง Infrared
  3. กล้อง Dome
  4. กล้อง Speed Dome
  5. กล้อง Day/Night
  6. กล้อง IP Camera
  7. กล้องซ่อนหรือกล้องจิ๋ว

ข้อควรพิจรณาในการเลือกใช้เครื่องบันทึกภาพ

  1. ความง่ายในการใช้งานเครื่อง
  2. อัตราการแสดงผลภาพต่อวินาที (fps)
  3. เทคโนโลยี การบันทึกภาพเช่น Mpeg, Mpeg4, H.264
  4. คุณภาพของภาพในการบันทึกแล้วนำกลับมาเล่นใหม่
  5. ความสามารถของระบบ เช่น ดูผ่าน Internet Motion, USB, ระยะเวลาการบันทึก
  6. ราคากล้องวงจรปิด
  7. การรับประกันสินค้า บริการหลังการขาย

ข้อควรพิจรณาในการเลือกใช้กล้องวงจรปิด

  1. สถานที่ติดตั้ง มีแสงไม่มีแสง มีการเปลี่ยนแปลงของแสงบริเวณนั้นมากหรือน้อย
  2. ติดตั้งภายนอกหรือภายในมาตรฐาน IP เช่น IP66,IP67, IP666
  3. ความละเอียดของภาพ เช่น 420TVL, 480TVL, 520TVL, 540TVL ยิ่งมาก
    ความละเอียดของภาพยิ่งมาก
  4. CCD เช่น ขนาด 1/3, 1/4 ขนาด1/3 (ใหญ่กว่าดีกว่า)
  5. CCD ของค่ายไหน เช่น Sony(เน้นภาพธรรมชาติ) Panasonic(เน้นสีสันสดใส) Sharp (เน้นราคา)
  6. DSP ตัวประมวลผลภาพ ภาพสวยหรือไม่สวยอยู่ที่ตัวนี้ด้วย
  7. Lens ที่ใช้เป็นแบบใด เช่น AutoIris, Fix, Vari FoCal, เลนส์แก้ว หรือพลาสติก
  8. Feature ต่างๆ เช่น Linelock, BLC, AI, AGC, SDIII, VD2, ABF
  9. การบริการหลังการขาย

 

Creative innovation Technology Co.,Ltd. (CIT)
427/54-56 ซอยเยาวภา ถนนประชาราษฎร์สาย2 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Tel: 02-402-9898 Fax : 0-2912-8166

E-mail: anusorn@cit.in.th